กิจกรรมการท่องเที่ยว

บ้านไพรพัฒนา เป็นหมู่บ้านที่มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ คือวัดไพรพัฒนา ซึ่งวัดไพรพัฒนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มีพระครูโกศลสิกขกิจ หรือหลวงพ่อพุฒ วายาโม เป็นเจ้าอาวาสวัด มี และวัดไพรพัฒนายังขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ- ปริณายก เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานบรรจุไว้ ณ มณฑปปราสาทหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา และเป็นสถานที่ตั้งสรีระสังขารของหลวงปู่สรวง ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ และประชาชนทั่วไป ได้มาเคารพกราบไหว้ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั่วไป - ตลาดบายตึ๊กเจีย (ข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์) วัดไพรพัฒนา (วัดหลวงปู่สรวง) อ.ภูสิงห์ ตลาดสายวัฒนธรรมอาเซียนขายสินค้า 2 แผ่นดินไทย-กัมพูชา ซึ่งจะเป็นตลาดเพื่อการวางจำหน่ายสินค้าโอทอปจากทุกตำบลในเขต อ.ภูสิงห์ สินค้าพื้นเมืองต่างๆ และสินค้าพื้นเมืองจากชาว อ.อัลลองเวง จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา - จุดชมวิวผากูปรี เป็น แหล่งท่องเที่ยวใหม่บนหน้าผาสวยเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา อ.ภูสิงห์ ศรีสะเกษ เผยชมทัศนียภาพต้นกำเนิดห้วยสำราญ กั้นระหว่างสองจังหวัดศรีสะเกษ-สุรินทร์ พร้อมจิบ “กาแฟกูปรี” รสเลิศ ฝีมือชงของทหารไทย โดยจุดชมวิวพญากูปรีแห่งนี้ อยู่บริเวณหน้าผาสูงบนเทือกเขาพนมรักที่สวยงาม สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ธรรมชาติของต้นน้ำห้วยสำราญที่กั้นระหว่าง อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ และ อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีประชาชนนักท่องเที่ยวพากันแวะมาพักชมวิวจุดนี้จำนวนมากก่อนขึ้นไปเที่ยวเมืองใหม่ช่องสะงำ และจุดผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชาสะงำต่อไป -จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ เป็นจุดผ่านแดนถาวรของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณช่องสะงำ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เชื่อมต่อกับช่องจวม อำเภออัลลองเวง จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เส้นทางช่องสะงำ เป็นเส้นทางที่สามารถเดินทางไปผ่านไปยังนครวัด-นครธม ด้วยระยะทางเพียง 135 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางที่สามารถเดินทางได้สะดวก และเดินทางไปกลับได้ในวันเดียว เมืองใหม่ช่องสะงำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา จังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินการก่อสร้างเมืองใหม่ขึ้นบริเวณห่างจากด่านพรมแดน ประมาณ 2 กิโลเมตร โดยใช้ชื่อว่า "เมืองใหม่ช่องสะงำ" เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าชายแดนในพื้นที่ดังกล่าว เมืองใหม่ช่องสะงำ ประกอบด้วยอาคารส่วนราชการ อาคารพาณิชย์ สถานีขนส่งผู้โดยสาร และสาธารณูปโภคต่างๆ อีกทั้งยังได้มีการประกาศจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารเมืองใหม่ช่องสะงำแล้ว ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2553