กิจกรรมการท่องเที่ยว

กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ (PA-O) ตามตำนานชาวปะโออพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย และมาตั้งถิ่นฐานเมื่อนานมาแล้วในบริเวณท่าตอน เมืองทางทิศตะวันออกของย่างกุ้ง ก่อนที่ชาวปะโอจะพัฒนาภาษาเขียนขึ้นมา เมื่อครั้งกษัตริย์มะนุหะของชาวปะโอแพ้สงครามให้กับกษัตริย์อโนรธาแห่งนครบะกัน(พุกาม)ของพม่าเมื่อศตวรรษที่ 11 เป็นเหตุให้ต้อง สูญเสียเมืองตะโถ่งหรือเมืองสุวรรณภูมิไปและต้องอพยพมาอยู่ในรัฐฉาน ทำให้ชาวปะโอเศร้าโศกเสียใจจึงพร้อมใจกันแต่งชุดสีดำและสีน้ำเงินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชาวปะโอที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนกลับมีชุดแต่งกายหลากหลายสีสันแตกต่างจากที่อื่นๆชาวพม่าเรียกชาวปะโอว่าต่องตู (Taungthu) ส่วนชาวไทใหญ่เรียกว่า ต่องซู (Taungsu) หรือตองซู (Tongsu) มีความหมายว่า “คนทางใต้” ซึ่งกล่าวถึงชาวปะโอที่อาศัยอยู่ที่เมืองท่าตอนทาง ตอนใต้ของประเทศพม่า มีความหมายเช่นเดียวกันกับ “คนดอย” นอกจากนี้ชาวปะโอ ยังถูกเรียกใน เชิงดูถูกว่าเป็นพวก “ชาวไร่ ชาวนา” ในขณะที่ชาวปะโอกลับเรียกตัวเองว่า “ปะโอ” ชาวปะโอในเมืองท่าตอนทางตอนล่างของประเทศพม่า เรียกคนปะโอที่อาศัยอยู่บนที่ราบ สูงของรัฐฉานว่า ปะโอพื้นที่สูง (Highland Pa-O) ในทางกลับกัน คนปะโอในรัฐฉานตอนใต้ เรียกคนปะโอที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองท่าตอนทางตอนล่างของประเทศพม่าว่า ปะโอที่ราบต่ำ (Lowland Pa-O)